สถาบันพ่อมดเเม่มดเเละศาสตร์ชั้นสูงเบลล์เ
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
avatar
Prof.Srin
Admin
Posts : 33
Join date : 2017-10-07
Location : House-Bellyerm
https://house-bellyerm.board-directory.net

บนที่ 1 อุปกรณ์ เเละ ความรู้เบื้องต้นของการปรุงยา Empty บนที่ 1 อุปกรณ์ เเละ ความรู้เบื้องต้นของการปรุงยา

Sat Nov 18, 2017 8:29 pm
หลักการปรุงยา

ในการปรุงยาจากสมุนไพร ผู้ปรุงยาจำเป็นต้องรู้หลักการปรุงยา ๔ ประการคือ

๑. เภสัชวัตถุ

ผู้ปรุงยาต้องรู้จักชื่อ และลักษณะของเภสัชวัตถุทั้ง ๓ จำพวก คือ พืชวัตถุ สัตววัตถุ และธาตุวัตถุ รวมทั้งรูป สี กลิ่น และรสของเภสัชวัตถุนั้นๆ ตัวอย่างเช่น กะเพรา เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มี ๒ ชนิด คือ กะเพราแดง และกะเพราขาว ใบมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน หลักของการปรุงยาข้อนี้จำเป็นต้องเรียนรู้จากของจริง
ผลจันทน์เทศ เปลือกใช้เป็นเครื่องเทศ รก (ส่วนสีแดงที่หุ้มเมล็ด) ใช้เป็นเครื่องเทศและยาขับลม
ผลจันทน์เทศ เปลือกใช้เป็นเครื่องเทศ รก (ส่วนสีแดงที่หุ้มเมล็ด) ใช้เป็นเครื่องเทศและยาขับลม
๒. สรรพคุณเภสัช

ผู้ปรุงยาต้องรู้จักสรรพคุณของยา ซึ่งสัมพันธ์กับรสของยา หรือสมุนไพรรสของยาเรียกว่า รสประธาน แบ่งออกเป็น

๑. ยารสเย็น ได้แก่ ยาที่ประกอบด้วยใบไม้ที่มีรสไม่เผ็ดร้อน เกสรดอกไม้ สัตตเขา (เขาสัตว์ ๗ ชนิด) เนาวเขี้ยว (เขี้ยว ๙ ชนิด) และของที่เผาเป็นถ่าน ตัวอย่างเช่น ยามหานิล ยามหากาฬ เป็นต้น ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคหรืออาการผิดปรกติทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
ผลสมอไทย ใช้เป็นยาระบาย
ผลสมอไทย ใช้เป็นยาระบาย
๒. ยารสร้อน ได้แก่ ยาที่นำเอาเบญจกูล ตรีกฎุก หัสคุณ ขิง และข่ามาปรุง ตัวอย่างเช่น ยาแผนโบราณที่เรียกว่า ยาเหลืองทั้งหลาย ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคและอาการผิดปรกติทางวาโยธาตุ (ธาตุลม)
อบเชย ใช้เปลือกเป็นเครื่องเทศและยาขับลม
อบเชย ใช้เปลือกเป็นเครื่องเทศและยาขับลม ๓. ยารสสุขุม ได้แก่ ยาที่ผสมด้วย โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก ชะลูด อบเชย ขอนดอก และแก่นจันทร์เทศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นยาหอมทั้งหลาย ยากลุ่มนี้ใช้รักษาความผิดปรกติทางโลหิต
นอกจากรสประธานยาดังที่กล่าวนี้ เภสัชวัตถุยังมีรสต่างๆ อีก ๙ รสคือ รสฝาด รสหวาน รสเบื่อเมา รสขม รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสเผ็ดร้อน ในตำรายาแผนโบราณบางตำราได้เพิ่มรสจืดอีกรสหนึ่งด้วย รสของเภสัชวัตถุนี้มีความสัมพันธ์กับสรรพคุณในการรักษาโรค เช่น ยารสฝาด มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วง ยานี้จึงไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการท้องผูก

ตำรับยาแก้จุกเสียดและสรรพลม จารึกอยู่บนแผ่นหินอ่อน ซึ่งฝังอยู่บนผนังระเบียงวิหารพระนอน วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
๓. คณาเภสัช

ผู้ปรุงยาต้องรู้จักเครื่องยา ที่ประกอบด้วยเภสัชวัตถุมากกว่า ๑ ชนิด ที่นำมารวมกันแล้วเรียกเป็นชื่อเดียว ตัวอย่างเช่น

ทเวคันธา หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๒ ชนิด คือ รากบุนนาค และรากมะทราง

ตรีสุคนธ์ หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๓ ชนิด คือ รากอบเชยเทศ รากอบเชยไทย และรากพิมเสนต้น

ตรีผลา หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบด้วย เภสัชวัตถุ ๓ ชนิด คือ ผลสมออพยา (สมอไทย) ผลสมอพิเภก และผลมะขามป้อม

จตุกาลธาตุ หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๔ ชนิดคือ เหง้าว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร และรากนมสวรรค์

เบญจกูล หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๕ ชนิด รากช้าพลู เถาสะค้าน ผลดีปลี เหง้าขิง และรากเจตมูลเพลิง

สัตตเขา หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๗ ชนิด คือ เขาควาย เขาเลียงผา เขากวาง เขาวัว เขากระทิง เขาแพะ และเขาแกะ

เนาวเขี้ยว หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๙ ชนิด คือ เขี้ยวสุกร เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ เขี้ยวแรด เขี้ยวช้าง (งา) เขี้ยวสุนัขป่า เขี้ยวปลาพะยูน เขี้ยวจระเข้ และเขี้ยวเลียงผา

ทศกุลาผล หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๑๐ ชนิด คือ ผลเร่วทั้งสอง (เร่ว น้อย เร่วใหญ่) ผลผักชีทั้งสอง (ผักชีลา ผักชี ล้อม) ชะเอมทั้งสอง (รากชะเอมเทศ รากชะเอม ไทย) ลำพันทั้งสอง (รากลำพันแดง รากรำพัน ขาว) และอบเชยทั้งสอง (เปลือกอบเชยเทศ เปลือกอบเชยไทย)
อบเชย
อบเชย
๔. เภสัชกรรม

ผู้ปรุงยาต้องรู้จักการปรุงยา ซึ่งมีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ

๔.๑ พิจารณาตัวยาว่าใช้ส่วนไหนของเภสัชวัตถุ เช่น ถ้าเป็นพืชวัตถุ จะใช้ส่วนเปลือก รากหรือดอก ใช้สดหรือแห้ง ต้องแปรสภาพก่อนหรือไม่ ตัวอย่างสมุนไพรที่ต้องแปรสภาพก่อน ได้แก่ เมล็ดสลอด เพราะสมุนไพรนี้มีฤทธิ์แรง จึงต้องแปรสภาพ เพื่อลดฤทธิ์เสียก่อน

๔.๒ ดูขนาดของตัวยา ว่าใช้อย่างละเท่าไร สำหรับมาตราที่ใช้ในการชั่งยา มีดังนี้




นอกจากนี้ยังมีมาตราโบราณ ซึ่งใช้ส่วน ต่างๆ ของร่างกาย หรือเมล็ดพืชที่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคยมาเป็นตัวเทียบขนาด เช่น คำว่าองคุลี หมาย ถึงขนาดเท่า ๑ ข้อของนิ้วกลาง กล่อมหมายถึง ขนาดเท่ากับเมล็ดมะกล่ำตาหนู และกล่ำหมายถึง ขนาดเท่ากับเมล็ดมะกล่ำตาช้าง สำหรับมาตรา ที่ใช้มีดังนี้



นอกจากนี้ยังมีคำว่าหยิบมือ กำมือ และ กอบมือ ซึ่งปรากฏในสูตรมาตรา ดังนี้



ในตำราไทยจะใช้เครื่องหมายตีนกาใน การบอกน้ำหนักของตัวยาแต่ละชนิดดังนี้



ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียนว่า



หมายถึงต้องการตัวยานั้นหนัก ๑ ตำลึง ๒ บาท ๑ สลึง

วิธีการปรุงยา

ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ ๒๔ วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ ๒๕ คือ วิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย

ในจำนวนวิธีปรุงยาเหล่านี้ มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ ไว้ดังนี้คือ

ยาต้ม

การเตรียม  ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ ๑ กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลม ยาวขนาด ๑ ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมัดไม่ได้ ให้หั่นเป็นท่อนยาว ๕-๖ นิ้วฟุต กว้าง ๑/๒ นิ้ว ฟุต แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด ๑ กำมือ

การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย (ประมาณ ๓-๔ แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง ๑ หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป ๑ แก้ว (ประมาณ ๒๕๐ มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๓๐ นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้น หรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ
เครื่องชั่ง
เครื่องชั่ง
ยาชง

การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม

การชง ใช้สมุนไพร ๑ ส่วน เติมน้ำเดือดลง ไป ๑๐ ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ ๑๕-๒๐ นาที

ยาดอง

การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แตกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ

การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ ๗ วัน

ยาปั้นลูกกลอน

การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่ เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร ๒ ส่วน ผสมกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ๑ ส่วน ตั้งทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมง เพื่อให้ยาปั้นได้ง่าย ไม่ติดมือ ปั้นยาเป็น ลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นอีก ๒ สัปดาห์ ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกที เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา การปั้นยาเม็ดด้วยพิมพ์อัดเปียก
การปั้นยาเม็ดด้วยพิมพ์อัดเปียก
ยาตำคั้นเอาน้ำกิน

การเตรียม นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียด หรือจนกระทั่งเหลว ถ้าตัวยาแห้งไป ให้เติมน้ำลงไปจนเหลว

การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้ นั้นมารับประทาน สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือ กระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ

ยาพอก

การเตรียม ใช้สมุนไพรสดตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียก แต่ไม่ถึงกับเหลว ถ้ายาแห้งให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป

การพอก เมื่อพอกยาแล้ว ต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ เปลี่ยนยาวันละ ๓ ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการปรุงยา

ในการปรุงยาไทยจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้คือ
เครื่องหั่นยา
เครื่องหั่นยา ๑. เครื่องหั่นยา เป็นมีดที่ติดอยู่กับแท่น เพื่อสะดวกในการหั่นสมุนไพร
การกรางสมุนไพรด้วยบุ้ง
การกรางสมุนไพรด้วยบุ้ง ๒. บุ้งกรางยา ใช้สำหรับขูดสมุนไพรที่แข็ง เช่น แก่นไม้จันทร์ เพื่อให้สามารถนำไปบดให้ละเอียดได้ง่ายขึ้น
๓. เครื่องบดยา แต่เดิมใช้ครกตำสมุนไพร ที่ได้จากการหั่น หรือการขูดด้วยบุ้ง ต่อมาได้พัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องบดยารางยาง ซึ่งประกอบด้วยรางเหล็ก และลูกกลิ้งกลมขอบคม ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก ผู้บดจะต้องโยกคัน เพื่อให้ลูกกลิ้งบดสมุนไพรจนเป็นผง ชาวจีนอาจใช้วิธีเหยียบคันโยก แต่แพทย์ไทยถือว่า ยาเป็นของสูงจึงไม่ใช้เท้า ในปัจจุบันเครื่องบดยาได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบรางกลม และใช้ไฟฟ้า เครื่องบดยารางกลม
เครื่องบดยารางกลม
๔. ตะแกรงร่อนยา เดิมแพทย์ไทยใช้ไม้ไผ่สาน แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากชาวจีน จึงทำเป็นตะแกรงรูปกลมมีขอบสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้ผ้าขึงที่ก้น ขอบทำด้วยไม้ไผ่ ตะแกรงร่อนยา
ตะแกรงร่อนยา
หินบดยา
หินบดยา ๕. หินบดยา แม้ว่าจะนำสมุนไพรไปบดด้วยเครื่องบดยาแล้วก็ตาม สมุนไพรที่จะนำไปใช้ทำยาเม็ดอาจไม่ละเอียดพอ จึงจำเป็นต้องนำมาบดอีกครั้งด้วยหินบดยา ซึ่งประกอบด้วยแท่นหิน และลูกบด ผู้บดจะจับลูกบดบดไปมาบนตัวยาที่วางอยู่บนแท่น นอกจากจะบดให้ละเอียดมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการผสมให้ตัวยาหลายชนิดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวอีกด้วย หินบดยามีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดพอรับประทานแต่ละครั้ง จนถึงขนาดใหญ่บดผงจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหินบดยาสำหรับการกวาดยา ซึ่งเป็นแท่นหิน มีลักษณะเป็นแอ่งตื้น และมีปาก เพื่อเทยา
หินฝนยา
หินฝนยา ๖. หินฝนยา เป็นแท่นหิน มีแอ่งอยู่ปลายด้านหนึ่ง เพื่อรองรับตัวยา และน้ำยา ใช้สำหรับฝนยาหมู่ เช่น นวเขี้ยว หรือฝนตัวยา เพื่อทำน้ำกระสายยา
โกร่งบดยา
โกร่งบดยา ๗. โกร่งบดยา ใช้บดยาจำนวนน้อย เพื่อรับประทานแต่ละครั้ง
๘. ตะแกรงตากยา เป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่สาน ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นถาดโลหะเคลือบ หรืออะลูมิเนียม
ตะแกรงตากยา
ตะแกรงตากยา
๙. พิมพ์อัดเปียก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำยาเม็ด ทำด้วยทองเหลือง มีขนาดต่างๆ กัน ใช้สำหรับทำยาเม็ดที่ใช้น้ำในการผสม ถ้ายาเม็ดผสมน้ำผึ้งอาจจะใช้รางยา ซึ่งเป็นเครื่องมือทำยาจีน แทนการปั้นเป็นเม็ดด้วยมือ พิมพ์อัดเปียก
พิมพ์อัดเปียก
วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร

การปรุงยาให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องรู้หลัก และวิธีการปรุงยาแล้ว จะต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพรอีกด้วย ตำราแพทย์ไทยจึงได้กำหนดวิธีการเก็บไว้ ๔ อย่างคือ เก็บตามฤดู เก็บตามทิศทั้งสี่ เก็บตามวันและเวลา และเก็บตามยาม และได้อธิบายวิธีเก็บไว้ดังนี้

๑. เก็บตามฤดู มีดังนี้

๑.๑ คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บราก และแก่น
๑.๒ วสันตฤดู (ฤดูฝน) เก็บใบ ลูก และดอก
๑.๓ เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เก็บเปลือก กระพี้ และเนื้อไม้

๒. เก็บตามทิศทั้งสี่ ได้แก่

๒.๑ วันอาทิตย์ และวันอังคาร เก็บ ทางทิศตะวันออก
๒.๒ วันพุธ และวันศุกร์ เก็บทางทิศ ใต้
๒.๓ วันจันทร์ และวันเสาร์ เก็บทาง ทิศตะวันตก
๒.๔ วันพฤหัสบดี เก็บทางทิศเหนือ การเก็บสมุนไพรตามทิศนี้ให้ถือตัวผู้ เก็บเกี่ยวเป็นศูนย์กลาง

๓. เก็บตามวันและเวลา

๓.๑ วันอาทิตย์ เช้าเก็บต้น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
๓.๒ วันจันทร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บ แก่น เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บเปลือก
๓.๓ วันอังคาร เช้าเก็บใบ สายเก็บ เปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บราก
๓.๔ วันพุธ เช้าเก็บราก สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บแก่น
๓.๕ วันพฤหัสบดี เช้าเก็บแก่น สาย เก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็น เก็บเปลือก
๓.๖ วันศุกร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บราก เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บต้น
๓.๗ วันเสาร์ เช้าเก็บราก สายเก็บต้น เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บใบ

๔. เก็บตามยาม (ยามเป็นชื่อส่วนของวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง ยาม ๑ เริ่มตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น.)

๔.๑ กลางวัน

ยาม ๑ เก็บใบ ดอก และลูก
ยาม ๒ เก็บกิ่ง และก้าน
ยาม ๓ เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม ๔ เก็บราก

๔.๒ กลางคืน

ยาม ๑ เก็บราก
ยาม ๒ เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม ๓ เก็บ กิ่ง และก้าน
ยาม ๔ เก็บใบ ดอก และลูก

ประโยชน์ของการเก็บเกี่ยวตามที่ตำราแพทย์ไทยได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ก็เพื่อ

๑. สงวนพันธุ์ของสมุนไพรไว้มิให้สูญไป โดยไม่เก็บจากบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
๒. ให้ได้ตัวยาที่มีสรรพคุณดี เพราะสรรพคุณของตัวยาขึ้นกับดินฟ้าอากาศ
๓. ให้ได้ตัวยาถูกต้องตามที่ตำราได้กำหนด ไว้

จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า ปริมาณของสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาอาการเจ็บป่วยที่ได้จากส่วนต่างๆ ของสมุนไพรมีมากน้อยแตกต่างกัน ตามระยะของการเจริญเติบโตของพืช การเก็บสมุนไพรให้ได้สารสำคัญสูง จึงมีหลักการดังต่อไปนี้

ส่วนของรากและลำต้นใต้ดิน ให้เก็บหลังจากต้นเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนจะออกดอก

ส่วนของเปลือกต้น ให้เก็บก่อนที่พืชจะเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะออกดอก

ใบและยอด ให้เก็บตอนที่เริ่มออกดอก

ดอก ให้เก็บก่อนที่จะมีการผสมเกสร

ผล ให้เก็บก่อนหรือหลังผลสุก

เมล็ด ให้เก็บเมื่อเมล็ดแก่เต็มที่

สมุนไพรบางชนิดจำเป็นต้องผึ่งให้แห้งก่อนจะเก็บไว้ โดยทั่วไปจะใช้วิธีผึ่งแดด หรือผึ่งให้แห้งในร่ม ถ้าจะอบ ไม่ควรใช้ความร้อนเกิน ๔๕ องศาเซลเซียส เพราะอาจทำให้สารสำคัญเสียไป การเก็บควรเก็บในที่แห้ง และไม่ให้ถูกแสง เนื่องจากสารสำคัญอาจถูกทำลายได้ด้วยความชื้นหรือแสง ในสมัยโบราณมักเก็บไว้ในลิ้นชัก หรือกระป๋องทึบ ซึ่งป้องกันความชื้นและแสงได้
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง
ศัพท์ที่ใช้ในการปรุงยา

ในการปรุงยาผู้ปรุงยังจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ คำบางคำ ได้แก่

ทั้งห้า หมายถึง ต้น ราก ใบ ดอก และผล

ส่วน หมายถึง ส่วนในการตวง (ปริมาตร) ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก

กระสายยา หมายถึง ตัวละลายยา เช่นน้ำ และน้ำปูนใส เป็นต้น

การสะตุ หมายถึง การแปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม หรือเครื่องยาให้เป็นผงบริสุทธิ์ โดยวิธีทำให้สลายตัวด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการ ซึ่งเป็นมลทิน ระเหยหมดไป หรือเพื่อให้เครื่องยามีฤทธิ์อ่อนลง โดยอาจเติมสารบางอย่าง เช่น น้ำมะนาว น้ำมะลิ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องยา หรือสมุนไพรนั้นๆ

ประสะ มีความหมาย ๓ ประการคือ

๑. การทำความสะอาดตัวยา หรือการล้างยา เช่น การทำความสะอาดเหง้าขิง เหง้าข่า

๒. การใช้ปริมาณยาหลักเท่ากับยาทั้งหลาย เช่น ยาประสะกะเพรา มีกะเพราเป็นหลัก และตัวยาอื่นๆ อีก ๖ ชนิด การปรุงจะใช้กะเพรา ๖ ส่วน ตัวยาอื่นๆ อย่างละ ๑ ส่วน รวม ๖ ส่วนเท่ากะเพรา

๓. การทำให้พิษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการของตัวยาอ่อนลง โดยที่ตัวยาที่ต้องการคงสภาพเดิม
เช่น ประสะมหาหิงคุ์ หมายถึงการทำให้กลิ่นเหม็นของมหาหิงคุ์ลดลง โดยใช้น้ำใบกะเพราต้มเดือดมาละลายมหาหิงคุ์

ใบเพสลาด หมายถึง ใบไม้ที่จวนแก่
กำหนดอายุของยา

จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิด และใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน จึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วย ดังนี้

๑. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุได้ ประมาณ ๓-๖ เดือน
๒. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุ ได้ระหว่าง ๖-๘ เดือน
๓. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่าง ละเท่ากัน มีอายุได้ประมาณ ๕-๖ เดือน

แมงลัก ใช้เมล็ดเป็นยาระบายใช้ใบเป็นยาขับลม
แมงลัก ใช้เมล็ดเป็นยาระบาย
ใช้ใบเป็นยาขับลม
อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอน มีกำหนดอายุไว้ดังนี้

๑. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุ ประมาณ ๖-๘ เดือน
๒. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุ ประมาณ ๑ ปี
๓. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของ พืช รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ ๑ ปีครึ่ง

ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดี จะมี อายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้ และถ้าเก็บรักษาไม่ดี ก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยา

๑. ถ้าไม่ได้บอกไว้ว่า ให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง ให้ถือว่า ใช้สมุนไพรสด
๒. ยาที่ใช้กินถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้ม
๓. ยาที่ใช้ภายนอกร่างกายถ้าไม่ได้ระบุวิธี ปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำพอก
๔. ยากิน ให้กินวันละ ๓ ครั้งก่อนอาหาร
๕. ยาต้ม ให้กินครั้งละ ๑/๒ - ๑ แก้ว ยา ดองเหล้า และยาตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ ๑/๒ - ๑ ช้อนโต๊ะ ยาผง กินครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ยาปั้น ลูกกลอนกินครั้งละ ๑-๒ เม็ด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เซนติเมตร) และยาชง ให้กินครั้งละ ๑ แก้ว
Back to top
Permissions in this forum:
You cannot reply to topics in this forum